เมนู

นั้น ละเอียดโดยนัยต่าง ๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถ
และพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ลึกซึ้งโดยธรรม อรรถ เทศนา และ
ปฏิเวธ มาสู่คลองโสตสมควรแก่ภาษาของตน ๆ ของสัตว์โลกทั้งปวง ใคร
เล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าแม้ใช้เรี่ยวแรง
ทั้งหมดให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับ ก็ได้สดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้า
ก็ได้สดับมาโดยอาการอย่างหนึ่ง.
ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีนิทัสสนะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์ เมื่อ
จะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้ามิใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้กระทำให้
แจ้ง จึงแสดงพระสูตรทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวมฺเม สุตํ คือ
ข้าพเจ้าเองได้ยินมาอย่างนี้.
ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีอวธารณะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์เมื่อ
จะแสดงพลังด้านความทรงจำของตนอันควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ทรงสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์นี้ เป็นเลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ซึ่งเป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ
(ความทรงจำ) เป็นอุปฐาก ดังนี้ และที่ท่านธรรมเสนาบดีพระสารีบุตร
เถระ
สรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในคำเบื้องต้น
และคำเบื้องปลาย ดังนี้ ย่อมให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับแก่สัตว์โลกทั้ง
หลาย โดยกล่าวว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ และที่สดับนั้นก็ไม่ขาดไม่เกิน
ทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ คืออย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็นอย่างอื่น.

แก้อรรถบท เม


เม

ศัพท์ เห็นใช้ในเนื้อความ 3 อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นี้

มีเนื้อความเท่ากับ มยา เช่นในประโยคมีอาทิว่า คาถาภิคีตํ เม
อโภชเนยฺยํ
โภชนะที่ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.
มีเนื้อความเท่ากับ มยฺหํ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สาธุ เม ภนฺเต
ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระ-
องค์เถิด.
มีเนื้อความเท่ากับ มม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ธมฺมทายาทา เม
ภิกฺขเว ภวถ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของ
เรา.
แต่ในพระสูตรนี้ เม ศัพท์ ควรใช้ในอรรถ 2 อย่าง คือ มยา
สุตํ
ข้าพเจ้าได้สดับมา และ มม สุตํ การสดับของข้าพเจ้า.

แก้อรรถบทว่า สุตํ


สุต

ศัพท์นี้ มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค จำแนกเนื้อความได้
หลายอย่าง เช่นเนื้อความว่าไป ว่าปรากฏ ว่ากำหนัด ว่าสั่งสม ว่าขวนขวาย
ว่าสัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต และว่ารู้ตามโสตทวาร เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่าไป เช่นในประโยคมี
อาทิว่า เสนาย ปสุโต เสนาเคลื่อนไป มีเนื้อความว่าเดินทัพ.
มีเนื้อความว่าปรากฏ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธมฺมสฺส
ปสฺสโต
ผู้มีธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ มีเนื้อความว่า ผู้มีธรรม
ปรากฏแล้ว.
มีเนื้อความว่ากำหนัด เช่นในประโยคมีอาทิว่า อวสฺสุตา
อวสฺสุตสฺส
ภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการที่ชายผู้มีความกำหนัดมาลูบ